กรองและค้นหา

เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 2

เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 2

ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป

เล่มบาง กะทัดรัด เหมาะแก่การพกพาได้สะดวกชื่อเรื่องสะดุดหู ฟังดูเหมือนไม่มีความหมาย แต่กลับเป็นชื่อที่คนต่างชาติใช้เรียกชาวนครศรีธรรมราชว่า ‘ลิกอร์”ภาษาที่ใช้เป็นไปตามธรรมชาติไม่ได้ปรุงแต่ง ซึ่งถ้าเพ่งเล็งในแงวรรณศิลป์ อาจจะไม่งดงามเท่าที่ควรนักเพราะเป็นภาษาง่ายๆ อ่านรื่น สื่อความหมายได้ตรงใจเหมือนกับผู้อื่นเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ลักษณะการเขียนเหมือนสายตาคนนอกที่มองดูชาวนครศรีธรรมราช เป็นเรื่องสั้นเล่มเดียวที่ไม่ได้เอาความรู้สึกของผู้เขียนมาชี้นำ ใช้มุมมองของคนภายนอก แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเปลี่ยนไป มีทั้งประเด็นเสียดสี อารมณ์ขัน และวิพากษ์สังคมทุนนิยม แสดงบทบาทของวรรณกรรมว่ามีหน้าที่ฉุดรั้งสังคม เตือนสติสังคมเรื่องสั้นในเล่มดีทุกเรื่อง ตอนจบเหมือนชีวิตคนจริงๆ ที่บางทีก็หาคำตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง เหมือนการดำเนินชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะเรื่องสุดท้ายดีมาก “ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป” เป็นเรื่องสั้นที่ผู้เขียนเขียนสมกับเป็นนักเขียนมืออาชีพเป็นผู้สร้างผลงานโดยจงใจ และมีสไตล์เป็นของตัวเอง และที่สำคัญเป็นหนังสือมีระบบบรรณาธิการดีมาก ซึ่งเป็นแง่มุมที่ช่วยให้หนังสือน่าอ่านยิ่งขึ้น

สัปดาห์สุดท้าย

“สัปดห์สุดท้าย” เป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้อย่างน่สนใจ ผู้แต่งสามารถเขียนเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่าย การใช้ภาษาตี ใช้เทคนิคดี อ่านแล้วเกิดอารมณ์สะเทือนใจ ไม่น่าเบื่อ

ในวารวัน

“ในวารวัน” เป็นนวนิยายเกี่ยวกับการต่อสู้ชีวิตของตัวละครเอก ซึ่งผ่านความยากลำบากในชีวิตมาทุกรูปแบบ แต่สามารถผ่านวิกฤติทั้งมวลมาด้วยความใฝ่ดี สะท้อนแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพสังคมชนบทสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ ๗ สอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับธรรมะ และแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม

ครอบ (บ้าน)ครัว(เดียว)

“ครอบ (บ้าน) ครัว (เดียว)” เป็นนวนิยายชีวิตครอบครัวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวใหญ่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 จนถึงสมัยปัจจุบัน กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ชับซ้อนและมีปัญหา ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทั้งในด้านความเป็นอยู่ และความคิดของตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครเอก ซึ่งเป็นสตรีที่สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็งนวนิยายเรื่องนี้ มีกลวิธีการเสนอเรื่องที่ชวนติดตาม มีองค์ประกอบด้านฉาก ตัวละคร และบทสนทนาที่สมจริง มีชีวิตชีวา ให้ข้อคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สังคมไทย ด้วยการผสานวัฒนธรรมเก่ากับใหม่ได้อย่างกลมกลืน ผู้แต่งใช้ภาษาและสำนวนโวหาที่เปี่ยมด้วยวรรณศิลป์ มีสีสัน มีเสน่ห์ สร้างจินตภาพได้อย่างแจ่มชัดและก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ

อาม่าที่รัก

เรื่องความสัมพันธ์ของหญิงสูงอายุผู้มีเมตตาต่อเด็กและผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่ญาติพี่น้องให้คติเรื่องความขยันขันแข็ง ทำมาหากิน สู้ชีวิต ผู้อ่านเยาวชนได้เรียนรู้ศีลธรรมชั้นพื้นฐานความดี ความซื่อสัตย์ การบริโภคอย่างพอเพียง การเคารพอาวุโส เป็นต้น

อยากให้ลมหนาวหวนมาอีกครั้ง

เรื่องสนุกๆ ของชีวิตนักศึกษา บรรยายเรื่องดี ใช้เทคนิคเหมือนภาพวาด ภาษาสละสลวย หลากรสอารมณ์ หมาะแก่ผู้อ่านวัยรุ่น

สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว

เนื้อเรื่องสร้างสรรค์ จินตนาการน่ารักเกี่ยวกับสัตว์ อ่านแล้วมีความสุข ภาพประกอบดีรูปเล่มสวยงาม เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

สิมิลัน กราภูงา ตอน ส่งครามมหาเวท

เนื้อหาชับซ้อน ซ่อนข้อมูลมากมายไว้อย่างดี เสนอภาพของโลกในอดีตกับโลกอนาคตสลับกันไปมา ตัวละครมีสีสันชวนติดตาม มีการต่อสู้อย่างโลดโผน เหมาะสำหรับเยาวชนเพศชายหรือ นักอ่านที่ชอบเรื่องตื่นเต้น

ส้มโอ น้าหมู หนูแมว

ผู้เขียนนำเรื่องชีวิตประจำวันในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมาเขียนได้ดี ให้ภาพชีวิตที่อบอุ่นน่ารัก แสดงความผูกพันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับสัตว์ ภาษาดี เป็นธรรมชาติ เหมาะแก่ผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่

บีตั๊ก : ดวงดาวนั้นระหว่างน้ำกับฟ้า

เรื่องราวของครอบครัวคนชายชอบที่อบอุ่นเป็นธรรมชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมได้น่าสนใจ เยาวชนผู้อ่านจะรู้จักสังคมต่างวัฒนธรรม เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น

เด็กชายชาวนา

เรื่องราวชีวิตวัฒนธรรมของสังคมชนบทไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วแต่อย่างน้อยผู้อ่านที่เป็นยาวชนก็จะได้รับประสบการณ์ที่ดีว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อบอุ่นเป็นมิตร เรียบง่ายและมีสันติสุข

ความลับของเด็กเกเร

เรื่องเด็กกับโรงเรียน มีปริศนาให้หาคำตอบ ชวนให้ติดตามอ่าน สร้างตัวละครได้น่ารักสมวัย ภาษาและภาพประกอบเหมาะกับเรื่อง

“กระต่ายกับเต่า ภาค ๒ เราไม่วิ่งแข่งกันแล้ว”

กระต่ายกับเต่า ภาค ๒ เราไม่วิ่งแข่งกันแล้ว เขียนโดย ฮ. นิกฮูกี้ เป็นการนำเอาโครงเรื่องของนิทานอีสป อมตะนิทานของโลกมาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ให้เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่แฝงพุทธปรัชญา โดยมุ่งสอนผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้เข้าใจ และเห็นจริงว่าเรสามารถนำธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมโลกปัจจุบันคืสังคมแห่งการแช่งชัน ผู้คนจำนวนหนึ่งคิดอย่างกระต่ายคือมีความสุขกับการมุ่งเอาชนะกับผู้อื่น หนังสือเล่มนี้กลับทำให้เราหยุดพินิจความคิดของเต่าที่รู้สึกว่า การชนะใจตนเองเป็นสิ่งยิ่งใหญ่และให้ความปิติยิ่งกว่า เต่าจึงไมโกรธกับคำสบประมาทของกระต่ายและไม่โง่ที่ จะกระโจนเข้าสู่การแข่งขันที่ไร้ประโยชน์ นอกจากให้ความคิดเรื่อง “ความพอเพียง”‘แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังให้ความคิดเรื่อง “ความพอดี’ โดยนำหลักพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา มานำเสนอในเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างการเดินทางของครอบครัวเต่าซึ่งเปรียบได้กับการเดินทางของชีวิตมนุษย์ ผู้เขียนมีกลวิธีการนำเสนออย่างแยบยลด้วยบทสนทนาโต้แย้งระหว่างพ่อเต่ากับลูกเต่า ที่แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าคนเราจะมีหลักคิดแต่ต้องมีวิจารณญาน ในการนำมาปฏิบัติให้เหมาะสม อย่างเช่น พ่อเต่าบอกลูกเต่าว่าควรช่วยเหลือผู้อื่นหากไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน และรู้จักปล่อยวางเมื่อไม่สามารถช่วยได้ พ่อเต่าห้ามไม่ให้ลูกเต่าช่วยชีวิตปลาดุกปลาช่อนโดยแบกใส่หลังเดินทางไปด้วยกัน พราะจะพลอยทำให้ตาย หมดก่อนเดินทางถึงจุดหมาย พ่อเต่าไม่ช่วยปล่อยนักโทษประหารเพราะเขาเป็นคนเลวต้องได้รับกรรมตามที่กระทำไว้ แต่พ่อเต่ากลับช่วยชีวิตกระต่ายหลายครั้งทั้งๆ ที่กระต่ายดูหมิ่นเหยียดหยามและกลั่นแกล้งต่างต่างนานา เพราะมีเหตุผลว่าสามารถช่วยได้โดยไม่เดือดร้อนและหวังว่ากระต่ายจะกลับตัวกลับใจประพฤติตนดีขึ้น แต่หากกระต่ายไม่ทำตัวดีขึ้น เต่าก็ ไม่เดือดร้อนใจแต่อย่างใด ถือว่าเป็นเรื่องของกระต่ายไม่ใช่เรื่องของตน เต่าทำตนเป็นแบบอย่างแก่ลูกเต่าว่ายึดมั่นในศีลและในธรรมไม่ปล่อยให้ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสใดๆ หนังสือเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นว่า การยึดมั่นในหลักธรรมอื่นๆ เช่น ความกตัญญู ความรู้สึกสำนึกผิดการให้อภัย ความมีสติ ความมีปัญญา ฯลฯ ย่อมนำชีวิตและโลกไปสู่สันติสุขอย่างแท้จริงหนังสือเล่มนี้จึงเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่เหมาะแก่ผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ให้ข้อคิดที่สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน เนื้อหาอ่านสนุกและวิธีเล่าเรื่องชวนอ่าน ภาพประกอบที่สวยงามและเหมาะสมกับเนื้อเรื่องสร้างความรื่นรมย์ในการอ่านยิ่งขึ้น บทสนทนาและข้อขัดแย้งในตัวเรื่องทำให้ต้องครุ่นคิดและเกิดปัญญา ผู้ใหญ่สามารถนำหนังสือเล่มนี้ไปใช้สอนเด็กได้อย่างดี กระต่ายกับเต่า ภาค๒ เราไม่วิ่งแข่งกันแล้ว จึงสมควรได้รับยกย่องเป็นหนังสือ ดีเด่นรางวัล “เชเว่นบุ๊คอวอร์ด” ประเภท “วรรณกรรมสำหรับเยาวชน” ประจำปี ๒๕๔๘