ฉันเป็นคนไทย
เป็นกวีนิพนธ์ที่กล่าวถึงการเป็นคนไทย สำนวนโวหาร ประชดประชัน เสียดสีและมีอารมณ์ขัน ให้สุนทรียภาพทางความคิด ฉันทลักษณ์แน่น มีความอลังการ
คราบมนุษย์
เป็นกวีนิพนธ์ที่มีสุนทรียภาพและสาระของคำประพันธ์ เป็นเอกภาพกับชื่อเรื่อง ลีลา การเขียนลื่นไหล ไม่สะดุด อารมณ์ขัน เสียดสีประชดประชัน
ข้าพเจ้าจึงกล้าสารภาพ
ป็นกวีนิพนธ์ที่มีแนวคิดประชดประชันสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้สัญลักษณ์เพื่อสร้างภาพพจน์ และสร้างคำใหม่ขึ้นมาใช้
กลับบ้านเถอะลูก
เป็นกวีนิพนธ์ที่ใช้กลอนสุภาพทั้งหมด ใช้ภาษาง่าย โวหารคมคายให้ข้อคิดที่ดีฉันทลักษณ์ถูกต้อง ลื่นไหลดี มีความคิดสร้างสรรค์ สอนให้รักลูก พ่อแม่ ปู่ย่าตายายชี้ให้รู้จักความเพียงพอ เนื้อหามีความเป็นเอกภาพ
ข้าวเม่ารางไฟ
1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอรูปแบบใหม่ โดยใช้พื้นฐานจากเพลงพื้นบ้าน 2. บันทึกภาพชีวิตชนบท ในแง่คดิชนที่มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับสังคมปัจจุบันได้ดี
สองทศวรรษ
1. มีความลงตัวในองค์ประกอบของวรรณศิลป์ และมีสุนทรียภาพในการนำเสนอสำนวนโวหารลึกซึ้งคมคาย 2. เนื้อหาหลากหลาย สะท้อนความคิดเห็นของผู้เขียนในช่วงเวลาสองทศวรรษและเป็นเอกภาพกับชื่อเรื่อง
ลิลิตหล้ากำสรวล
1. วางรูปแบบฉันลักษณ์ถูกต้อง หลากหลาย โคลง ฉันท์ กพย์ กลอน ร่าย เหมาะกับเนื้อความ 2. เป็นงานยิ่งใหญ่ ที่สะท้อนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น 3. มีความเหมาะสมกลมกลืนในการนำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรูปของ วรรณกรรมร้อยกรอง โดยมีจุดเด่นในเรื่องฉันทลักษณ์
เดินตามรอย
“เดินตามรอย”ของวันเนาว์ ยูเด็น คือผลงานที่นำเอา ‘โคลงโลกนิติ’ วรรณกรรมเก่าลายคราม ฉบับพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มาเป็นแรงบันดาลใจ โดยผู้เขียนได้คัดเลือกโคลงจำนวน ๘๐ บท ที่มีเนื้อหาต่างกันมาเกริ่นนำ แล้วร้อยเรียงเสียใหม่ในรูปแบบ ‘กลอนสุภาพ’ เพื่ออธิบายขยายความวรรณกรรมคำสอนอันทรงคุณค่านั้น รวม ๘๐ สำนวน การนำของเก่ามาเล่มใหม่โดยผูกโยงสังคมปัจจุบันด้วยฝีมือนักกลอนชั้นครู นอกจากทำให้เข้าใจง่ายขึ้นแล้ว ผู้อ่านยังได้รับความรื่นรมย์พร้อมๆ กันไปด้วย
เอมอุทัยอิ่มฟ้า
แม้จะเป็นกวีหน้าใหม่ แต่นำเสนองานได้หลากหลาย ฉันทลักษณ์ถูกต้อง ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ครบเครื่องเรื่องเสียดสี ชิ้นเชิงมีเสน่ห์
ที่ซึ่งขุนเขาทะลุเมฆ
ผู้ประพันธ์เป็นมือกลอนเก่า ลีลาการเขียนดี ลงตัว
การพังทลายของทางช้างเผือก
ผู้ประพันธ์มีความช่ำของในการประพันธ์กลอน ลีลาลงตัว คำกลอนโดนใจ ไม่เน้นสัมผัสใน แต่เน้นสัมผัสใจ มีวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่แปลกใหม่ น่าสนใจ สะท้อนสภาวการณ์ที่ผู้เขียนได้ประสบมา
ปลายทางของเขาทั้งหลาย
เป็นรวมบทกวีที่มีเนื้อหาโดดเด่น เกี่ยวกับเรื่องสำคัญของสังคม เช่น มรดกของแผ่นดินที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาและทรัพยากร เรื่องของศาสนาในระดับปรัชญา และแก่นพุทธธรรม เรื่องของคติความเชื่ออันมีผลต่อวิถีชีวิต ความเปลี่ยนแปลงและความพลัดพราก สูญเสีย ล้วนเป็นเรื่องใหญ่ระดับโครงสร้างของสังคมทั้งสิ้น กวีได้นำเสนออย่างมีเสน่ห์ ในมุมมองของนักโบราณคดีประวัติศาสตร์ ด้วยท่าทีของนักวัฒนธรรมและด้วยกลวิธีตั้งคำถามที่ท้าทายให้เราได้ฉุกใจได้คิดถึงปฏิกิริยาของสังคมว่าจะพึงสะใจกับการตั้งคำถามหรือการค้นหาคำตอบ อันนำไปสู่ทางสองแพร่งคือ นำไปสู่หายนะธรรมหรือนำไปสู่อารยะธรรม
การลุกไหม้ของ ความมืด
การลุกไหม้ของความมืด เป็นรวมบทกวีที่เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องราววิกฤตของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเรา อันเป็นปัญหาฉกาจฉกรรจ์ที่ยังดำเนินอยู่จนวันนี้ กวีได้สะท้อนถึงเรื่องราวความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน รวมถึงผู้เคราะห์ร้ายผู้บริสุทธิ์ และผู้ถูกกระทำให้กลายเป็นเหยื่อของสถานการณ์เลวร้ายนั้น ด้วยอารมณ์และความรู้สึกลึกซึ้งสะเทือนใจ เรียกร้องต่อมโนธรรมสำนึกของเพื่อนร่วมแผ่นดินให้ได้ร่วมรับรู้ถึงความแตกร้าวทางมนุษยธรรมอันเป็นเรื่องที่ร้าวลึกกว่าความแตกต่างและแตกแยกทางมนุษยชาติตามปรากฏการณ์ที่เรารับรู้จากข่าวสารเพียงเท่านั้น ต่อสถานการณ์เลวร้ายเช่นนี้เรายังจะเมินเฉยต่อเคราะห์กรรมของเพื่อนร่วมแผ่นดินอยู่ได้อย่างไรหรือ นี่คือคำถามที่อยู่ใน “การลุกไหมของความมืด” ของศิริวร แก้วกาญจน์
นรกของเรา ?
“นรกของเรา?” ของนายทิวา เป็นผลงานรวมบันทึกแห่งยุคสมัยที่ว่าด้วยสถานการณ์การเมือง เนื้อหาจึงค่อนข้างสด ทันสมัย ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม รู้สึกคล้อยตาม ด้านความคิดและมุมมองก็ท้าทายดี มีความแหลมคมพอสมควร การที่สื่อออกมาได้ขนาดนี้ แสดงว่าผู้เขียนอยู่กับข้อมูลและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ส่วนรูปแบบในการนำเสนอ นายทิวาเลือกใช้โคลง กลอน ตามความเหมาะสมของแต่ละประเด็นเนื้อหา ตรงนี้ถือว่าสามารถนำรูปแบบมารับใช้เนื้อหาได้อย่างลงตัว
ดวงดาวที่มีชื่อว่าเด็กเด็ก
“ดวงดาวที่มีชื่อว่าเด็กเด็ก” ของ ‘กุดจี่’ พรชัย แสนยะมูล เป็นบทกวีที่น่ารัก งดงาม ผู้เขียนได้พูดถึงความบริสุทธิ์ ซื่อ ใส ไร้เดียงสาของเด็ก-ลูกน้อย ซึ่งดูผิวเผินเหมือนเป็นเรื่องส่วนตัวในครอบครัวเล็ก ๆ แต่นัยยะที่ซ่อนและแทรกไว้ มีความหมายกว้างใหญ่ถึงระดับสังคมโลก โดยผู้เขียนพยามจะบอกเราว่า ความบริสุทธิ์ดุจผ้าขาวของเด็ก สามารถหยุดการฆ่าฟัน สร้างสันติได้ ดังตัวอย่าง… “ยิ้มของเด็กเหมือนเหมือนกันสันติผุด บริสุทธิ์ไม่กลิ้งกลอกไม่หลอกหลอน มิตรภาพอาบยิ้มนั้นนิรันดร สงครามอาจใจอ่อนตอนเจ้ายิ้ม”
ค่ำคืนที่โลกยังโศกเศร้า
“ค่ำคืนที่โลกยังโศกเศร้า” ของ “กอนกูย” เนื้อหาค่อนข้างหลากหลาย ครอบคลุมถึงเรื่องราวชีวิต สังคม การเมือง ฯลฯ โดยสื่อสารผ่านอารมณ์กวี เป็นอารมณ์ที่โศกเศร้าหดหู่ในชะตากรรม คล้ายจะตั้งคำถามให้ช่วยกันตรองว่า มนุษย์ทำไมต้องทำร้ายทำลายล้างกัน ซึ่งผู้เขียนได้วิงวอน ร้องขอ และมีอารมณ์ตัดพ้อในคราวเดียวกัน ด้านสำนวนภาษาและลีลากลอนของ “กอนกูย” ถือว่าน่าจับตา ภาษาสวย จังหวะจะโคนใช้ได้ดี เห็นแววกวี
รอยนฤมิต
“รอยนฤมิต” ของอชันตะ มีแนวคิดเกี่ยวกับชีวิต สังคม โลก ความรัก มีความจัดเจนในการใช้ภาษา เสมือนมีคลังแห่งถ้อยคำ สามารถนำมาเรียงร้อยรับใช้เนื้อหาได้อย่างลงตัว แม้ว่าในบางบทดูเหมือนผู้เขียนจงใจ ‘เล่นคำ’ เล่นสัมผัสอักษร จนเนื้อหาอ่อนพลังไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นบทกวีสวยงาม เนื้อหาโดยรวมเป็นผลงานที่มีคุณค่า มีความคิดลึกซึ้ง โดยผู้เขียนมีความปรารถนาอันแรงกล้าอยากให้เพื่อนมนุษย์มีความหวัง มีกำลังใจ และดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข “เราอาจพ่ายถูกพรากไปจากฝัน คืนและวันเร่ไปไร้แหล่งหลัก เหนื่อยและร้อนอ่อนล้าว้าเหว่นัก แต่ความรักในใจไม่เคยล้า ทางจะไกลเท่าไกลแค่ใจคิด จิตกับจิตติดตามข้ามเขตหล้า ฟ้าจะห่างเท่าห่างระหว่างฟ้า แต่ด้วยรักด้วยศรัทธาจะฝ่าทาง”
ระเบียงตะวัน
“ระเบียงตะวัน” ของสุขุมพจน์ คำสุขุม โดยภาพรวมผู้เขียนเสนอเรื่องราวอดีต ที่เป็น ‘ร่องรอยการพบ-พรากของชีวิต’ อ่านแล้วทำให้หวนระลึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบท ซึ่งบรรยากาศเหล่านั้นแม้แต่ในยุคปัจจุบันก็ยังคงอยู่ เนื้อหาค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเรื่องราวชีวิตผู้คน สังคม รวมถึงฉายภาพสะท้อนปัญหาต่าง ๆ โดยผู้เขียนไม่สรุปว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ปล่อยให้ผู้อ่านได้คิดเอง นี่คือเสน่ห์ และเสน่ห์อีกอย่างในงานเล่มนี้ คือ มีอารมณ์ขัน ในส่วนของเชิงชั้นทางวรรณศิลป์ ถือว่าชั้นเชิงดี มีความชัดเจน แม่นยำในฉันทลักษณ์ “นัยน์ตาใสซื่อสื่อสัมผัส แจ่มชัดเป็นมิตรไร้ปริศนา ถ้อยคำชาวบ้านไร้มารยา ดวงหน้าดวงใจมิไกลกัน แลกเปลี่ยนความรัก แลกผักหญ้า ปูปลากุ้งหอยมาก-น้อยนั่น ราคาสูงต่ำไม่สำคัญ หมู่บ้านผูกพันแบ่งปันกิน” หรือ… “พวกผู้แทนเชื่อไม่ได้ มึงไม่รู้ มึงเชื่อกูอีวันทา มึงอย่าขำ มันแจกเงินแจกทองมึงต้องจำ รับแล้วทำเออออ ป้อยอมัน”
ลมมลายู
“ลมมลายู” ของวิสุทธิ์ ขาวเนียม เป็นผลงานรวมกวีที่เขียนถึงเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดทั้งเล่ม โดยเรียงร้อยต่อกันตั้งแต่บทที่ 1-45 แม้เรื่องราวจะไม่เรียงตามลักษณะการเดินเรื่อง เปรียบเสมือนผ้าหลากสีอยู่ปาเต๊ะผืนเดียวกัน โดยรวมแล้วมีเอกภาพ มีความสด โดดเด่น และหนักแน่นในเนื้อหา เพราะสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอเป็นเรื่องปัจจุบันที่สะท้อนสถานการณ์ในแง่มุมต่าง ๆ อย่างเห็นภาพชัด ทำให้ผู้อ่านมองเห็นปัญหา ซึ่งอาจนำไปสู่การขบคิด ทบทวน และช่วยกันแก้ปัญหา ด้านรูปแบบการนำเสนอ ผู้เขียนใช้กลอนสุภาพเป็นหลัก โดยสลับกับกาพย์ฉบัง 16 เป็นระยะ จึงทำให้น่าอ่าน ยิ่งลีลาในเชิงกวีที่ลื่นไหล สัมผัสนอกสัมผัสในอย่างได้จังหวะ ยิ่งทำให้ได้รสวรรณศิลป์ “ต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาสื่อ ในหลากสิ่งยึดถือโลกคือบ้าน หลังเดียวและหลังสุดท้ายกลางสายธาร อุกกาบาตเดือดพล่านเอกภพ ไม่ต้องแค้น ไม่ต้องฆ่า ไร้อาวุธ ไม่ต้องขุดดินนุ่มเป็นหลุมศพ ไม่คร่ารักเรืองรอง ไม่ต้องรบ ศานติภาพสุขสงบย่อมนิรันดร์”
หนทางและที่พักพิง พืชพันธุ์แห่งพุทธะในท้องทุ่ง มโนทัศน์กวีนิพนธ์
“หนทางและที่พักพิง” ของอังคาร จันทาทิพย์ ถือเป็น ‘พืชพันธุ์แห่งพุทธะในท้องทุ่งมโนทัศน์กวีนิพนธ์’ ดังที่นิยามไว้บนปก จริงอยู่…การเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใคร ๆ เขาทำมานักต่อนักแล้ว ถึงกระนั้นการนำเรื่องเก่าโบราณกาลมาทำซ้ำแบบไม่ให้ซ้ำคนอื่นนับเป็นเรื่องยากและท้าทาย แต่กวีผู้นี้ทำได้ดีอย่างน่าชื่นชม โดยใช้ชั้นเชิงกวีมานำเสนอในมุมมองใหม่ ๆ อย่างมีวรรณศิลป์ และมีเสน่ห์ ที่สำคัญผู้เขียนมีความช่ำชองในจังหวะจะโคนของโคลง กลอน ทำให้ผู้อ่านได้อรรถรสและความรู้ควบคู่กันไป
โลกกลางแสงแดด
“โลกกลางแสงแดด” ของโกสินทร์ ขาวงาม ว่าด้วยความธรรมดาของชีวิต สังเกตสังกาชีวิตผู้คน และความเป็นไปของสังคม รวมทั้งการหวนหาอดีต และความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เล่มนี้แบ่งเนื้อหาเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ภาค 1 โลกและรวงรัง ภาค 2 รูปวาดของเรา ภาค 3 ฤดูเทศกาล ภาค 4 ทิวทัศน์ของอารมณ์ และภาค 5 ใบหน้าประเทศ ด้านกลวิธี ผู้เขียนนำเสนอคล้ายกับว่าศิลปินมาเขียนเป็นรูปกวี บางครั้งอารมณ์ไม่ปะติดปะต่อ บางครั้งเหมือนรอยแดด ‘อ่อนโยน’ บางขณะอารมณ์ ‘จัดจ้า’ แต่ดูเป็นอิสระดี สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นความจงใจผู้เขียนเอง
ฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ
“ฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ” ของ “กอนกูย” เป็นผลงานสะท้อนปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และครอบคลุมถึงวิถีชีวิต (ต้องสู้) ของคนธรรมดาสามัญ เนื้อหามีความหลากหลาย นั่นหมายรวมถึงความรัก ความฝันด้วย โดยผู้เขียนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เริ่มจากภาค 1 พิธีกรรมอำพราง ภาค 2 ก้าวต่างกลางฟ้าหม่น ภาค 3 เหนือแผ่นดินชีพดิ้นรน และภาค 4 เห็นผลของหัวใจ… ด้วยเนื้อหาสาระและข้อมูลที่ทันสมัย หนักแน่น ชัดเจนในประเด็น ลีลาอารมณ์กวีมีพลัง… “ขอบคุณ…น้ำตาลูกผู้ชาย ที่สื่อภาพความหมายหลายความต่าง ชีวิตซึ่งมิท้อต่อทิศทาง คงมีบ้างหนึ่งฝันนั้นเป็นจริง ขอบคุณ…สมจิตร จงจอหอ ที่ช่วยต่อความหวังตั้งทุกสิ่ง น้ำตาคุณ-น้ำตาใคร ได้แอบอิง น้ำตาฉัน…สลัดทิ้งความท้อแท้”
โลกหมุนเร็วกว่าเดิม
เป็นกวีนิพนธ์ที่ยอดเยี่ยมสุดในยุคนี้ก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเรื่องแนวคิด และฝีมือในการเขียน โดยเฉพาะศิลปะของกาพย์กลอน เรื่องราวของวันหนึ่งของคน ๆ หนึ่งในเมืองใหญ่ เป็นเรื่องธรรมดา แต่ผู้เขียนได้ทำให้เห็นมุมมองที่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนเข้านอน ในวันเดียวกันนี้มีโลกที่เราคาดคิดไม่ถึงและเราก็อยู่กับมัน ถูกมันกำหนด และกำหนดมันได้บ้าง แต่ทุกวิถีได้ฝากข้อคิดและคติธรรมให้เห็นความชุลมุนพัลวันของชีวิตธรรมดา ๆ นี้เอง ที่เป็นพลังสำคัญที่จะเคลื่อนไหว ที่จะเคลื่อนสังคมให้พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หรือไปสู่สิ่งที่เลวกว่าได้เสมอ ในด้านศิลปะการประพันธ์ ผู้เขียนมีความจัดเจนในการเขียนกาพย์กลอน ซึ่งเรียกว่าคุมคำและคุมความได้อย่างน่าทึ่ง ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถจะทำให้เราอึกทึกไปถึงจักรวาลได้ ด้วยเสียงของอักษร ด้วยจังหวะของอักษร ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของกาพย์กลอนไทย ยากที่จะหาผู้ใดมาเสกคุณสมบัติเหล่านี้ให้กระเทือนสัมผัสได้ถึงปานนี้
พงศาวดารพิภพ
“พงศาวดารพิภพ” ของ ธีรภัทร เจริญสุข เป็นผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นฝีมือของคนเขียนบทกวีรุ่นใหม่ ที่สามารถสืบทอดขนบการประพันธ์ที่มีท่วงทำนองแบบโบราณได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนสามารถใช้ฉันทลักษณ์ได้หลากหลายรูปแบบ นำเสนอเนื้อหาที่มีกลิ่นอายของวรรณคดีมรดกได้อย่างน่าชื่นชม เมื่อพิจารณาจากความลื่นไหลของภาษาผสานกับเนื้อหาที่มีฉากและตัวละครชวนให้ติดตาม “พงศาวดารพิภพ” จึงนับเป็นผลงานที่มีอรรถรสและความรื่นรมย์อีกเล่มหนึ่ง
บ้านประชาธิปไตย
“บ้านประชาธิปไตย” ของ วิชัย โถสุวรรณจินดา ผลงานสะท้อนสังคม-การเมือง ของนักกลอนอาวุโส มากด้วยประสบการณ์ ผู้ย้อนวันเวลากลับมาสร้างสรรค์ผลงานครั้งใหม่ ความคมคายในกลวิธีการประพันธ์จึงยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด หากลับคมทางภาษาอีกระยะหนึ่ง ความเป็นมือกลอนรุ่นเก่าจะเปล่งประกายเจิดจ้าจนต้องจับตามองยิ่ “บ้านประชาธิปไตย” ของ วิชัย โถสุวรรณจินดา ผลงานสะท้อนสังคม-การเมือง ของนักกลอนอาวุโส มากด้วยประสบการณ์ ผู้ย้อนวันเวลากลับมาสร้างสรรค์ผลงานครั้งใหม่ ความคมคายในกลวิธีการประพันธ์จึงยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด หากลับคมทางภาษาอีกระยะหนึ่ง ความเป็นมือกลอนรุ่นเก่าจะเปล่งประกายเจิดจ้าจนต้องจับตามองยิ่งกว่านี้ เมื่อพิจารณาในด้านเนื้อหาแล้ว “บ้านประชาธิปไตย” นับว่าเป็นผลงานที่มีสาระชวนให้ครุ่นคิดได้ไม่น้อย งกว่านี้ เมื่อพิจารณาในด้านเนื้อหาแล้ว “บ้านประชาธิปไตย” นับว่าเป็นผลงานที่มีสาระชวนให้ครุ่นคิดได้ไม่น้อย
ทอรักถักโลก
“ทอรักถักโลก” ของ วรภ วรภา แสดงให้เห็นเชิงกลอนที่ช่ำชอง พลิกพลิ้วลีลาภาษาได้อย่างน่าตื่นใจ ผู้เขียนได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบันได้อย่างชวนคิด สามารถเล่นกับภาษาสมัยใหม่ที่เป็นผลผลิตของยุค “ไซเบอร์” ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในทางกลับกันการพลิกพลิ้วกับลีลาภาษาจนเกินพอดีในบางจุด อาจทำให้พลังของ “สาร” ที่ต้องการจะสื่อกับผู้อ่านเกิดการพร่าเลือนไปได้ แต่โดยรวมนับว่าเป็นงานที่แสดงให้เห็นศักยภาพทางภาษาของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี
ทิวทัศน์ของความคิดถึง
รวมบทกวี ทิวทัศน์ของความคิดถึง ของ โกสินทร์ ขาวงาม ผู้ประพันธ์เรียกผลงานเรื่องนี้ว่า เป็น “แสงเงาของจิตรกร สีสันของจินตกวี” ผู้ประพันธ์ผสานกลวิธีทางจิตรกรรมกับการนำเสนอทางวรรณศิลป์เนื้อหาเป็นวิถีชีวิตในชนบทของครอบครัวที่อบอุ่นความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกและสรรพสิ่งรอบตัว ด้านกลวิธีการประพันธ์ใช้กลอนแปดที่มีลีลาลื่นไหลไพเราะและมีลักษณะเฉพาะตน ผู้ประพันธ์เล่นกับภาษาทั้งเสียงและการใช้คำ บางตอนจงใจใช้ภาษาอังกฤษ บางครั้งใช้ลีลาการเล่าเรื่องแบบบทสนทนา
เหมือนหนึ่งมนุษย์มีเลือด คนละสี
รวมกวีนิพนธ์ เหมือนหนึ่งมนุษย์มีเลือดคนละสี ของ ธาร ธรรมโฆษณ์ นำเสนอเรื่องราวของมนุษยโลกที่มีความขัดแย้งเข่นฆ่ากันนำไปสู่สงครามด้วยมายาคติที่เห็นว่าเป็นวีรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยร่วมสมัยที่มีทั้งความขัดแย้งทางการเมืองและความรุนแรงในภาคใต้ เนื้อหาแบ่งเป็นสองตอนคือ เหมือนหนึ่งมนุษย์และมีเลือดคนละสี ด้านกลวิธีการประพันธ์ รวมบทกวีเรื่องนี้มีความโดดเด่นที่นำรูปแบบกวีนิพนธ์พื้นบ้านคือเพลงกล่อมเด็กของภาคใต้มาเรียงร้อยเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่สืบเนื่องสัมพันธ์กัน ในแต่ละบทจะยกเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้านขึ้นต้นและตามด้วยบทกลอนที่เชื่อมโยงเนื้อหาในเพลงกล่อมเด็กมาสู่เหตุการณ์ในสังคมไทยร่วมสมัยและจบบทด้วยการให้แง่คิด ทัศนะที่ เฉียบคม เป็นกลวิธีการประพันธ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่สามารถสืบสานมรดกวัฒนธรรม ทางวรรณศิลป์ที่เป็นมุขปาฐะมาถ่ายทอดประยุกต์ เนื้อหาให้เล่าเรื่องร่วมสมัยและยังให้ทางออกของความขัดแย้งต่าง ๆ ด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนาโดยการลงจบด้วยบท “แผ่เมตตา”
มรสุมประเทศนี้ยังยาวนาน
มรสุมประเทศนี้ยังยาวนาน รวมบทกวีร่วมสมัย: ท่ามกลางมรสุมที่พัดผ่านคาบสมุทรโบราณ ของ วิสุทธิ์ ขาวเนียม นำเสนอภาพของสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนภาคใต้ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกระทบที่ทำให้สังคมและทุกชีวิตเป็นทุกข์และป่วยไข้ รวมบทกวีแบ่งการนำเสนอเป็นสี่กลุ่ม คือ มรสุมยาวนาน ห้วงมนตราในรูปการณ์แห่งรหัสนัย เพรียกมาจากบาดแผลและดอกไม้ในดวงตาจบลงด้วยบท “รำพึงจากพลเมืองของประเทศสงคราม” ด้านกลวิธีการประพันธ์ผู้ประพันธ์มีความพิถีพิถันในการนำเสนอเรื่องราวของสังคมไทยในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและขัดแย้งด้วยการเปรียบเทียบเชิงอุปมาอย่างซับซ้อน กวีนิพนธ์แต่ละบทจึงมีเนื้อหาและศิลปะ ในการถ่ายทอดที่มีลีลาเฉพาะบทชวนให้ติดตามค้นหาความหมาย มีความโดดเด่นในการหยิบยกภาพธรรมชาติและภาพเล็กๆที่คนทั่วไปอาจไม่ได้ให้ความสำคัญมาเปรียบเทียบกับแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์และเหตุการณ์ในสังคม เช่น โลมากำสรวล แม่นกนางแอ่นชรา แมวเปรียวจับผีเสื้อ และ ในเสียงบีบบิเปลือกถั่วลิสง เป็นต้น รวมบทกวีเล่มนี้จึงมีความหลากหลายด้านกลวิธีการนำเสนออย่างมีวรรณศิลป์
ในความไหวนิ่งงัน
รวมบทกวีบันทึกปัจจุบันสมัย ในความไหวนิ่งงัน ของ “นายทิวา” เป็นกวีนิพนธ์ผู้ประพันธ์บันทึกเหตุการณ์ของสังคมไทยร่วมสมัยที่มีความขัดแย้งทางการเมือง นักการเมืองการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งสีแบ่งกลุ่มตามความคิดความเชื่อทางการเมือง ทำให้เกิดการต่อสู้ทางการเมืองจนเกิดความรุนแรง สังคมกลายเป็นสังคมแห่งความเกลียดชังซึ่งไม่เกิดผลดีทั้งต่อประชาชนเองและสังคมไทยโดยรวมท้ายที่สุด ไม่มีผู้ใดชนะ สิ่งที่ทุกฝ่ายควรจะต้องชนะก็คือการปล่อยวางอคติ ความโกรธเกลียด “แท้ที่ต้องเอาชนะคืออะไร อคติชนิดไหนใช้เหตุผล ชนะโกรธเกลียดกลัวชนะตน ปล่อยวางจึงหลุดพ้นชนะแท้” ด้านกลวิธีการประพันธ์ ผู้ประพันธ์ใช้กลอนแปดถ่ายทอดเรื่องราวในสังคมไทยผ่านทัศนะและมุมมองของตน ด้วยลีลาที่เข้มข้น มีพลัง กระชับ ตรงไปตรงมา รวมบทกวีเรื่องนี้เปรียบเสมือนเสียงจากมโนสำนึกของกวีต่อความขัดแย้งในสังคมไทยร่วมสมัย